เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทุติย-
ฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมตติยฌานเป็นปัจจัยแก่
ตติยฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมจตุตถฌานเป็นปัจจัยแก่จตุตถฌานโดย
อุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมวิญญานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญานัญจายตนะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะโดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดย
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ จตุตถฌานเป็นปัจจัยแก่อากาสานัญจายตนะโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญานัญจายตนะ ... วิญญานัญจายตนะ
เป็นปัจจัยแก่อากิญจัญญายตนะ ... อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญา-
นาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย
บริกรรมทิพพจักขุเป็นปัจจัยแก่ทิพพจักขุโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทิพพ-
โสตธาตุเป็นปัจจัยแก่ทิพพโสตธาตุโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอิทธิวิธญาณเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมเจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่
เจโตปริยญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นปัจจัยแก่
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัย
แก่ยถากัมมูปคญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่
อนาคตังสญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย
ทิพพจักขุเป็นปัจจัยแก่ทิพพโสตธาตุโดยอุปนิสสยปัจจัย ทิพพโสตธาตุเป็น
ปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย อิทธิวิธญาณเป็นปัจจัยแก่เจโตปริย-
ญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย เจโตปริยญาณเป็นปัจจัยแก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณโดย
อุปนิสสยปัจจัย ปุพเพนิวาสานุสสติญาณเป็นปัจจัยแก่ยถากัมมูปคญาณโดย
อุปนิสสยปัจจัย ยถากัมมูปคญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดยอุปนิสสยปัจจัย
บริกรรมปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมทุติยมรรค
เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมจตุตถมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :272 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 1. กุสลติกะ 7. ปัญหาวาร
ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติย-
มรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
พระเสขะอาศัยมรรคทำสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว เห็น
แจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มรรคของพระเสขะเป็น
ปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา
และความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
ยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำความยินดีเพลิด
เพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น เพราะ
ยินดีเพลิดเพลินกุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทำ
ความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานแล้วยินดีเพลิดเพลินฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
แล้ว เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล ฯลฯ
สุตะ ฯลฯ จาคะ ฯลฯ ปัญญาแล้วมีมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธา ... ศีล ... สุตะ ...
จาคะ ... ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ราคะ ... โทสะ ... โมหะ ... มานะ ... ทิฏฐิ ...
ความปรารถนาโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นกุศลเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอัพยากฤตโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ
อารัมมณูปนิสสยะ ได้แก่ พระอรหันต์ออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
อนันตรูปนิสสยะ ได้แก่ กุศลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล
อนุโลมของพระเสขะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลของ
ท่านผู้ออกจากนิโรธเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :273 }